สารบัญ
ความทั่วไป
ปรัชญา
งานที่ให้บริการ
สมาชิกของสำนักงาน
แหล่งเชื่อมโยง
ติดต่อ

ความทั่วไป | ปรัชญา | งานที่ให้บริการ | สมาชิกของสำนักงาน | แหล่งเชื่อมโยง | ติดต่อ

สำนักกฎหมาย ไอพีซีที แอสโซซิเอทส์ กรุงเทพ ประเทศไทย
สงวนลิขสิทธ์ 2544

กฎหมายการเงินการธนาคารและหลักทรัพย์
กฎหมายในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับตลาดเงิน ตลาดทุนภายในประเทศและต่างประเทศ และจะเป็นการกู้ยืมภายในประเทศและต่างประเทศ การระดมทุนไม่ว่าจะออกตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านกลไกของภาคเอกชนและภาครัฐ ซึ่งมีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ทำหน้าที่ควบคุมกำกับดูแล เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งมีกฎหมาย หลักเกณฑ์ กฎระเบียบต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นหากมีข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อย อาจก่อให้เกิดข้อพิพาทต้องรับผิดชอบอย่างมาก
และการให้บริการส่วนนี้จะครอบคลุมถึงกรณี การให้คำปรึกษากิจกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า การจัดทำสัญญาต่าง ๆ การแก้ไขปัญหาการชำระหนี้จากผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนต้องให้คำปรึกษา ชี้แจงและกล่าวแก้ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ควบคุมกำกับดูแล ทั้งก่อนขึ้นศาลและในศาลกรณีที่เกิดจากปัญหาการดำเนินงาน ของลูกค้าในเรื่องดังกล่าว
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไม่ว่าทางลิขสิทธิ์ (Copyright) สิทธิบัตร (Patent) หรือเครื่องหมายการค้า (Trade Mark) เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้นโดยลำดับ การให้บริการของสำนักงานมี 3 ลักษณะ คือ
(1) การเป็นตัวแทนในการจด - แจ้ง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิหรือเข้าสู่ระบบการคุ้มครอง การโต้แย้งคัดค้าน รวมทั้งการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการที่มีอำนาจในกรณีถูกปฏิเสธการจดทะเบียน รวมทั้งการต่ออายุ การตรวจสอบ ระวังการละเมิดสิทธิ
(2) การดำเนินคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ หรือการปกป้องสิทธิ และ
(3) การให้คำปรึกษาทั่วไป เช่น การจัดทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing Agreement) เป็นต้น
กฎหมายปกครอง
เป็นสาขากฎหมายย่อยในกฎหมายมหาชนที่ได้รับการพัฒนา และนับวันแต่จะมีบทบาททวีขึ้นโดยลำดับในสังคมไทย เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการควบคุมการใช้อำนาจรัฐต่อเอกชน โดยฝ่ายปกครอง (เจ้าหน้าที่, หน่วยงานรัฐ) และการคุ้มครองผลประโยชน์ของเอกชนจากการใช้อำนาจรัฐดังกล่าวนั้น พัฒนาการและบทบาทดังกล่าว จะเห็นได้จากการมีกฎหมายปกครองใหม่ ๆ ออกมาบังคับใช้ เช่นพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาทางปกครอง พ.ศ. 2539, พ.ร.บ. ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539, พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540, กฎหมายที่รัฐออกใช้เป็นมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจฉบับต่าง ๆ ฯลฯ และกฎหมายจัดตั้งศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พึงตระหนักคือ กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่มีหลักกฎหมายและนิติวิธีพิเศษแตกต่างจากกฎหมายแพ่งทั่ว ๆ ไปอย่างมาก ดังนั้นการนำกฎหมายปกครองไปใช้อย่างกฎหมายแพ่ง หรือนำกฎหมายแพ่งมาใช้ในคดีปกครอง หรือกรณีปัญหาที่ต้องใช้กฎหมายปกครองย่อมทำให้เกิดความสับสน และอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ การให้บริการของสำนักงานในสาขากฎหมายนี้มีตั้งแต่การให้คำปรึกษา, การทำสัญญาทางปกครองกับหน่วยงานของรัฐ, การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองต่าง ๆ หรือผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง หรือคณะกรรมการที่มีอำนาจตามกฎหมาย รวมทั้งการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
กฎหมายปกครองทั่วไป
1.1 การโต้แย้ง และการอุทธรณ์ คำสั่งทางปกครอง (Administrative Act) ต่อเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานรัฐต่าง ๆ และคณะกรรมการตามกฎหมายการปกครอง เนื่องจากการถูกกระทบสิทธิโดยคำสั่งทางปกครอง เช่น ไม่อนุญาต ไม่อนุมัติ ไม่รับจดทะเบียน ฯลฯ รวมถึงการอุทธรณ์และร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
1.2 การดำเนินคดีปกครองในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่ง - อาญาต่าง ๆ
1.3 การให้คำปรึกษาทั่วไป
กฎหมายเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์
โดยการอุทธรณ์คำสั่งกำหนดจำนวนค่าเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อโครงการสาธารณูปโภคหรืออื่น ๆ ต่อรัฐมนตรีผู้มีอำนาจ รวมทั้งการฟ้องคดีต่อศาล เพื่อเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าทดแทน เป็นต้น

< 1 - 2 - 3 >
สาขาทางกฎหมายที่บริการ
English